เมื่อเวลาประมาณ 15.20 น. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส ในรัฐบาลเศรษฐา ได้ชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของกระทรวงฯ

โดย รมว.ดีอีเอสยืนยันว่า รัฐบาลนี้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องการพัฒนาระบบดิจิทัลของประเทศ ชี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล เช่น ดิจิทัลวอลเล็ต บล็อกเชนระดับชาติ E-Government

"เศรษฐา" เผย ครม.นัดแรก พรุ่งนี้เคาะลดค่าไฟ

มท.ส่งหนังสือด่วนที่สุดถึงผู้ว่าฯทุกจังหวัด คุมเข้มกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน หวั่นซ้ำรอย“กำนันนก”

แถลงนโยบายรัฐบาล : 'วิทยา' ติงสมาชิกไร้วินัย อภิปรายอ่านแต่สคริปต์ แต่งตัวเหมือนอยู่โรงละคร

“เรามีความตั้งใจที่จะให้เอาระบบเหล่านี้มารวมกัน เป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) อย่างสมบูรณ์ เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้เข้าถึงภาคเศรษฐกิจและภาคการบริการ เพื่อที่จะนำมาสร้างประโยชน์ให้กับพี่น้องประชาชนได้มากขึ้น” นายประเสริฐกล่าว

เรื่องแรกที่จะดำเนินการคือ “Go Cloud First” ได้วางกรอบในการขยายเรื่องของคลาวด์ ซึ่งเป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเน้นการสร้างคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) และคลาวด์เอกชน (Private Cloud) ที่มีมาตรฐานในการดูแลข้อมูลภาครัฐ ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก

นอกจากนั้นแล้ว รัฐบาลมีโครงการที่จะดึงบริษัทชั้นนำทั่วโลกมาลงทุนเรื่องคลาวด์ในประเทศไทย และทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค เป็นฮับในเรื่องนี้

ในเรื่องการปรับแนวทางจัดซื้อจัดจ้าง เราจะใช้คลาวด์ เพื่อให้มีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น ให้เป็น Open Contracting Policy แบ่งเป็น

  • เรื่องระบบการจ่ายเงินภาครัฐผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
  • เรื่องการเปิดขอใบอนุญาตและติดต่อราชการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์แบบ One Stop Service เพื่อลดดุลยพินิจในเรื่องของการพิจารณาเรื่องภาครัฐ ในการพิจารณาที่จะนำไปสู่การคอร์รัปชัน
  • เรื่องการนำระบบล็อกเชนมาใช้เพื่อความโปร่งใสในการทำธุรกรรมเกี่ยวกับภาครัฐ เพื่อขับเคลื่อนสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล

ในส่วนของ ดิจิทัลไอดี (Digital ID) นายประเสริฐยืนยันว่า เป็นกรอบที่มีความชัดเจน และขณะนี้กฎหมายได้มีมาตรฐานที่รับรองไว้แล้ว ในด้านการบริการมีทั้ง ThaiD และ ndid ซึ่งเป็นตัวตนของผู้ให้บริการในระบบอินเทอร์เน็ต ที่สามารถทำธุรกรรมทางโลกออนไลน์ต่าง ๆ ได้ไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน

ในเรื่องของ Smart City หรือเรื่องของการพัฒนาพื้นที่ระดับเมือง ได้ส่งเสริมการนำข้อมูล Big Data เข้ามาใช้ เพื่อเป็นประโยชน์ โดยเชื่อมโยงข้อมูลเมืองในแต่ละชั้นข้อมูล และรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลผ่าน City Data Platform ซึ่งเป็นวิธีที่สำคัญในการทำให้เป็นเมืองอัจฉริยะ

นายประเสริฐบอกว่า กระทรวงฯ ยังได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขในโครงการ “Health Link” เพื่อให้การรับบริการด้านสาธารณสุขสามารถทำได้ทั่วประเทศ บัตรประชาชนใบเดียว สามารถรักษาได้ทุกโรงพยาบาล นอกจากนั้นแล้ว ยังสามารถเช็กข้อมูลประวัติข้ามโรงพยาบาลได้

นอกจากนั้นยังดำเนินการ “Travel Link” ร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พัฒนาแพลตฟอร์มเชื่อมโยงข้อมูลท่องเที่ยว แสดงให้เห็นการทำงานระหว่างข้อมูลภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งถือว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

“เรากำลังเตรียมการรัฐบาลดิจิทัล โดยจัดทำแผนแม่บทในการบูรณาการ ในเรื่องของความแตกต่างของแต่ละกระทรวง มาพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยทำซูเปอร์แอปฯ ที่รวมทุกแพลตฟอร์มของภาครัฐ โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นตัวเก็บข้อมูล ซึ่งจะทำทั้งชั้นที่เป็นโครงสร้าง และที่จะพัฒนาในอนาคต จะเกิดการซิงก์ข้อมูลซึ่งกันและกัน ไม่มีการแยกข้อมูลให้ประชาชนเกิดความสับสนและซับซ้อน” นายประเสริฐกล่าว

รมว.ดีเอสบอกว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมีส่วนสำคัญในการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน ในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) โดยดำเนินผ่านคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่มีท่านนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีรัฐมนตรีหลายกระทรวงนั่งอยู่ในคณะกรรมการฯ

สำหรับเรื่องเศรษฐกิจฐานข้อมูล ในระดับภาพรวม ข้อมูลภาครัฐเป็นฐานที่สำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ ต่อยอด ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน

เรื่อง Open Data ถือว่าเป็นมาตรการเชิงรุกของรัฐบาล ที่ขณะนี้รัฐบาลในประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญอย่างยิ่งได้นำแนวคิด Data Economy มาใช้ เริ่มเปิดเผยข้อมูลภาครัฐให้ภาคธุรกิจและภาคประชาชนได้รับทราบให้เกิดประโยชน์ ได้พัฒนาระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ และระบบให้บริการแลกเปลี่ยน มีการแบ่งปันเรื่องของสถิติตามมาตรฐานสากล

กระทรวงดีอีเอสยังมีสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ที่เป็นองค์กรมหาชนได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่ จะรับทำแผนแม่บทในการทำแผนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาพัฒนาเรื่องเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เกิดนวัตกรรมด้านต่าง ๆ ที่มีความสำคัญ

“ในเรื่องการบริหารข้อมูล เราได้ทำซูเปอร์แอปฯ โดยระบบบล็อกเชน เก็บข้อมูลต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ผมเรียนว่า การใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ต้องทำควบคู่ไปกับการเคารพสิทธิ์ส่วนบุคคลของพี่น้องประชาชน ผมจึงส่งเสริมให้ภาครัฐและภาคเอกชนมีความรู้ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่เราเรียกว่า PDPA และเตรียมความพร้อมในการรองรับการบังคับใช้ในเรื่องนี้ให้ทันกับมาตรฐานสากล”

การนำเสนอข้อมูลจะเปลี่ยนแบบ จากการนำเสนอข้อมูลทางตรง ไม่มีการวิเคราะห์ เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ได้ทันที โดยกระทรวงจะวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาให้พี่น้องประชาชนและธุรกิจสามารถนำไปใช้เกิดประโยชน์ได้ทันที

รมว.ดีอีเอสเน้นย้ำถึงประโยชน์ของระบบบล็อกเชน และกล่าวว่า “เมื่อหลายปีก่อน ก่อนที่ LINE จะเข้ามามีบทบาทและเป็นช่องทางการสื่อสารของพี่น้องประชชนที่ใช้อย่างแพร่หลายในยุคปัจจุบัน สมัยก่อนคนใช้ไม่เป็น วันนี้ LINE พี่น้องประชาชนทุกคนในประเทศนี้ ได้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความคุ้นเคย ดังนั้นเชื่อว่า เทคโนโลยีบล็อกเชนจะเป็นเทคโนโลยีในอนาคตที่คนไทยจะต้องคุ้นเคย และสามารถนำเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศได้ในอนาคต”

เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน การใช้ประโยชน์จาก IoT กระทรวงฯ มีสถาบัน DEPA มีสถาบัน IoT ซึ่งได้ทำงานระหว่างภาครัฐกับเอกชน เรื่องสตาร์ทอัป เพื่อยกระดับอุตสาหกรรม IoT และพัฒนามาตรฐานของอุปกรณ์ ในเรื่องความปลอดภัย เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่บัญชีบริการดิจิทัล

การส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้ทางกระทรวงโดย DEPA จัดการส่งเสริม IoT ไปใช้ในภาคส่วนที่มีความสำคัญ ดังนี้ ภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม เรื่องการพัฒนา Smart City ซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนและสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตาร์ทอัปที่มีขีดความสามารถ

เราได้มีตัวอย่างการพัฒนาที่มีความยั่งยืน ในหลาย ๆ เรื่องที่เราทำมาแล้ว เรื่องการใช้เทคโนโลยีที่ระบบ IoT เชื่อมโยงข้อมูลกับบริการจัดคิวรถบรรทุกที่ท่าเรือแหลมฉบัง เรื่องการส่งเสริมกิจกรรมของเทศบาลนครยะลา โดยใช้จากกล้องและจาก IoT เพื่อรับเรื่องร้องเรียนและการจัดเก็บภาษี เรื่องการแก้ขปัญหาการเก็บขยะ เรื่องการส่งเสริมเมืองภูเก็ต ฯลฯ

“เพราะฉะนั้นแล้ว การทำงานของกระทรวง ผมมีแผนงานให้ มีการนำเอาเทคโนโลยีและวัฒนธรรมของสตาร์ทอัปได้มีโอกาสในการพัฒนาประเทศ โดยผมคิดว่าการเปิดประตูการค้ากับภาครัฐเป็นเรื่องสำคัญ การอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การส่งเสริมเมืองให้มีการใช้เทคโนโลยีที่มีทั้งข้อมูลเมือง การออกแบบ โครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาเมือง ทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในอนาคต”

ขณะที่ประเด็นเรื่องไรเดอร์ที่มีปัญหากับแพลตฟอร์ม นายประเสริฐระบุว่า ราว 2 เดือนก่อน ได้มีผู้ประกอบการไรเดอร์มาเข้าพบที่พรรคเพื่อไทย แล้วก็ได้มายื่นเอกสารถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการคิดเวลาทำงาน หรือเรื่องสวัสดิการต่าง ๆ การไม่ได้รับความเป็นธรรมจากแลพตฟอร์มต่างประเทศที่มาให้บริการในประเทศไทยคำพูดจาก ปั่นสล็อตแตกทุกเกม

“เรื่องนี้ ผมเองหลังจากที่ได้มีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว ก็จะนัดหมายพี่น้องไรเดอร์ทุกคน ได้มาพูดคุยที่กระทรวง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาดังกล่าว แล้วก็จะได้นนำระบบเทคโนโลยีที่กระทรวงดีอีเอสได้พัฒนาขึ้นมา ในรูปแบบต่าง ๆ ได้เข้าสู่กรบวนการเพื่อให้ประชาชนมีความผาสุกต่อไป” นายประเสริฐกล่าว ครม.เศรษฐา แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา วันที่สอง 12 ก.ย. 2566

ประกาศแจ้งจ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด "เข้าบัญชี 18 ก.ย.2566" แน่นอน

ส่อง “ร้านอาหารเกาหลีเหนือ” ในต่างประเทศ ไม่มีลูกค้าแต่เงินสะพัด

ส่องสีใหม่ "iPhone 15" และ "iPhone 15 Pro" ก่อนเปิดตัวกันยายนนี้

 แถลงนโยบายรัฐบาล- “ประเสริฐ” เน้นนโยบายใช้เทคโนโลยียกระดับชีวิต-เศรษฐกิจ-ความโปร่งใส

By admin